วีดิทัศน์

การขอรับคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม

8857
16.08.59

ลักษณะการคุ้มครอง ระยะการคุ้มครอง และการสิ้นสุดการคุ้มครอง

 

1. ลักษณะของการคุ้มครอง
              รูปแบบของการให้ความคุ้มครองแบบผังภูมิจะเหมือนกับการให้ความคุ้มครองทางด้านสิทธิบัตร กล่าวคือใช้ ระบบจดทะเบียน คือตรวจสอบแต่เฉพาะความถูกต้องของเอกสารและคุณสมบัติของผู้ขอรับความคุ้มครอง ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความคุ้มครองแบบผังภูมิจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรืออาจจะยื่นคำขอที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดของแต่ละจังหวัดก็ได้ ซึ่ง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดจะส่งคำขอดังกล่าวให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการต่อไป คำขอจดทะเบียนจะต้องมีรายการตามที่กฎหมายมาตรา 15 กำหนด เช่น ชื่อและที่อยู่ของผู้ออกแบบ วันที่สร้างสรรค์แบบผังภูมิ ภาพวาดหรือภาพถ่ายลายเส้นที่แสดงแบบผังภูมิ หรือตัวอย่างของวงจรรวมที่จะนำแบบผังภูมินั้นไปใช้
 
2. ระยะการคุ้มครอง
              สำหรับระยะเวลาการให้ความคุ้มครองนั้น กฎหมายกำหนดให้หนังสือสำคัญแบบผังภูมิมีอายุ 10 ปี นับแต่วันยื่นขอจดทะเบียนหรือวันที่นำออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกแล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน แต่ระยะเวลาการให้ความคุ้มครองแบบผังภูมิต้องไม่เกิน 15 ปีนับแต่วันที่สร้างสรรค์แบบผังภูมิเสร็จ ดังนั้นหากล่วงพ้นระยะเวลา 15 ปีนับแต่วันสร้างสรรค์แบบผังภูมิเสร็จ ผู้สร้างสรรค์ก็ไม่สามารถนำแบบผังภูมิมาขอจดทะเบียนได้แม้ว่าจะไม่เคยนำแบบผังภูมินั้นออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ก็ตาม
 
3. การสิ้นสุดการคุ้มครอง
              สิทธิในแบบผังภูมิของผู้ทรงสิทธิจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 31 ดังนี้คือ 
              (1) ผู้ทรงสิทธิขอคืนหนังสือสำคัญแบบผังภูมิ 
              (2) หนังสือสำคัญแบบผังภูมิสิ้นอายุการคุ้มครอง 
              (3) ผู้ทรงสิทธิไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนด 
              (4) ผู้ทรงสิทธิตายและไม่มีทายาท 
              (5) อธิบดีหรือคณะกรรมการได้มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย หรือศาลได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอน การจดทะเบียน

DIP

DIP Logoกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
เลขที่ 563 ถนนนนทบุรี  ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 อีเมล์ : saraban@ipthailand.go.th สายด่วน 1368 

 facebook  instagram  youtube  twitter

สถิติผู้เข้าชมวันนี้ : 4452

สถิติผู้เข้าชมรวม : 10779883

ipv6 ready W3C WIA AAA WCAG20Html5 LogoAcheckerW3c Css
 
 
 
 

กรมทรัพย์สินทางปัญญา