ประเทศไทยเป็นประเทศสังคมเกษตรกรรม ประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรมมายาวนาน เครื่องหมายการค้ายังมีบทบาทและ ความสำคัญไม่มากนัก แต่เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าจากต่างประเทศทาง ตะวันตก สถานการณ์ทางการค้าเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ความจำเป็นในการมีระบบเครื่องหมายการค้ามีมากขึ้นพร้อมกับบริษัทต่างชาติ
รัฐบาลไทยได้ตั้งหอทะเบียนเครื่องหมายการค้าขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2453 ต่อมาได้มีการตรากฎหมาย และประกาศใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้า พ.ศ. 2457 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ และมีเนื้อหา เกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชิ้นแรก คือ Crown Brand โดยบริษัท เอเชีย ติก ปิโตรเลียม(สยาม)ทุน จำกัด ใช้กับสินค้า น้ำมันจุดเพื่อความสว่าง เพื่อให้เกิดความร้อน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลต่าง ประเทศมีความประสงค์ให้รัฐบาลไทยให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ จึงได้เรียกร้องให้ผนวกเรื่องการคุ้มครอง เครื่องหมายการค้าเข้ากับเรื่องอื่นในสนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างกัน และเมื่อภารกิจในเรื่องเครื่องหมายการค้ามีความสำคัญมาก ขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้จัดตั้งกรมทะเบียนการค้าในปี 2466 ให้มีหน้าที่ในการรับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า โดยได้โอนงานด้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จากกระทรวงเกษตราธิการมาอยู่ในความกำกับดูแลของ กรมทะเบียนการค้า (กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในปัจจุบัน) มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และงานชั่ง ตวง วัด
ต่อมาประเทศไทยมีความเจริญเติบโตของการค้าภายในประเทศ ทำให้มีการตรากฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับใหม่ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การพาณิชย์มากขึ้น ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 ขึ้น โดยกฎหมายฉบับนี้ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายเครื่องหมายการค้า ค.ศ. 1905 ของ ประเทศอังกฤษเป็นอย่างมาก กฎหมายฉบับนี้ยกเลิกกฎหมายเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้า พ.ศ. 2457 และพระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มีการแก้ไขปรับปรุง 2 ครั้ง ใช้บังคับอยู่นานราว 60 ปี
ส่วนงานด้านสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งก่อนที่กฎหมายสิทธิบัตรฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จะมีผลบังคับใช้ กรมทะเบียนการค้าได้มีการจัดตั้งกองบริหารงานสิทธิบัตรและกองตรวจสอบ และพิจารณา สิทธิบัตร ในปี 2506 และเสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ต่อรัฐสภาในปีพ.ศ. 2508 และสมาชิกรัฐสภาบางท่านไม่เห็นด้วย และ มีการวิจารณ์ร่างกฎหมายว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทย มุ่งที่จะคุ้มครองชาวต่างประเทศจึงทำให้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตกไป ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2521 ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตรและรัฐบาลอนุมัติหลักการของร่าง
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2535 โดยมีอัตรากำลังข้าราชการ 225 คน ลูกจ้างประจำ 30 คน พนักงานราชการ 156 คน ในปี พ.ศ. 2557 จัดเป็นปีที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลา 22 ปี ปัจจุบัน มีอธิบดี นับถึงปัจจุบัน รวม 11 คน ดังนี้
นายพิพรรธน์ อินทรศัพท์ 3 พ.ค. 2536 - 30 ก.ย. 2536
ร้อยโทสุชาย เชาว์วิศิษฐ 1 ต.ค. 2536 - 26 ธ.ค. 2538
นายบรรพต หงษ์ทอง 27 ธ.ค. 2538 - 7 มิ.ย. 2541
นายพิพรรธน์ อินทรศัพท์ 8 มิ.ย. 2541 – 30 ก.ย. 2542
นายพงษ์เธียร พยัคฆนิธิ 1 ต.ค. 2542 – 30 ก.ย. 2543
นางผ่องศรี ยุทธสารประสิทธิ์ 1 ต.ค. 2543 – 30 ก.ย. 2544
นายยรรยง พวงราช 1 ต.ค. 2544 – 15 ธ.ค. 2546
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ 16 ธ.ค. 2546 - 22 พ.ย. 2549
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ 23 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2552
นางปัจฉิมา ธนสันติ 17 พย 2552 - 30 ก.ย.2556
นางมาลี โชคล้ำเลิศ 1 ต.ค. 2557 - 30 ก.ย. 2558
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค 1 ต.ค. 2558 - ปัจจุบัน