ถาม
การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศมีข้อควรระวังหรือไม่ อย่างไร
ตอบ
เนื่องจากการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศต้องอ้างอิงคำขอพื้นฐาน (คำขอที่ยื่นขอจดทะเบียน หรือได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย) คือ ต้องเป็นเจ้าของ และที่อยู่เดียวกัน รูปเครื่องหมายเดียวกัน รายการสินค้าของคำขอพื้นฐานครอบคลุมรายการสินค้าในคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศ และหากคำขอพื้นฐานถูกปฏิเสธไม่รับจดทะเบียน หรือถูกเพิกถอนการจดทะเบียนภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับเลขที่จดทะเบียนระหว่างประเทศ (International Registration Number หรือ IRN) (ผู้ขอจะได้รับ IRN เมื่อสำนักระหว่างประเทศตรวจแบบฟอร์ม MM2 และพบว่ามีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว คำขอนั้นจะได้รับ IRN) จะส่งผลกระทบทำให้คำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศภายใต้พิธีสารมาดริดนั้นสิ้นผลไปด้วย ดังนั้น ในการยื่นคำขอผู้ขอควรนำคำขอที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วในประเทศมาระบุเป็นคำขอพื้นฐาน หากนำคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน หรือคำขอที่อยู่ระหว่างการคัดค้าน อุทธรณ์ หรือทะเบียนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาลมาระบุเป็นคำขอพื้นฐาน ย่อมเกิดความเสี่ยงที่จะถูกปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนคำขอในประเทศ หรือถูกเพิกถอนทะเบียนในประเทศซึ่งจะส่งผลให้คำขอระหว่างประเทศนั้นสิ้นผลไปนั้น
1368สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา
รองรับการทำงานบน Microsoft Edge , Firefox , Safari , Chrome , Opera และรองรับการแสดงผลบน Mobile Devices
สงวนลิขสิทธิ์ © 2564 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์