PATENT

สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

คำแนะนำในการจัดเตรียมคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรระหว่างประเทศ

19833
12.09.59

คำขอระหว่างประเทศประกอบด้วย

1. คำร้อง (แบบพิมพ์ PCT/RO/101)
2. รายละเอียดการประดิษฐ์ 
3. ข้อถือสิทธิ 
4. บทสรุปการประดิษฐ์ และ 
5. รูปเขียน (ถ้ามี) 

- คำขอระหว่างประเทศ ให้ใช้กระดาษ A4 สีขาวเรียบ ไม่มีเส้น    
- รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์ และรูปเขียน ให้เว้นขอบกระดาษแต่ละหน้า ระบุหมายเลขประจำหน้า และหมายเลขกำกับบรรทัด
- การเรียงหน้าเอกสารตามลำดับจะต้องกำหนดเลขโดยการใช้เลขหน้าแยกต่างหากเป็นชุด ดังนี้: 
- เลขชุดแรกใช้กับแบบคำขอโดยเฉพาะ และเริ่มต้นที่หน้าแรกของแบบคำขอ

- เลขชุดที่สองเริ่มต้นที่หน้าแรกของรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ และบทสรุปการประดิษฐ์

-เลขชุดถัดไปใช้กับหน้าที่มีรูปเขียนเท่านั้นและเริ่มต้นที่หน้าแรกของรูปเขียน (ถ้ามี)

- เลขชุดถัดไปใช้กับส่วนรายการแสดงลำดับของรายละเอียดการประดิษฐ์ (ถ้ามี)

 

คำร้อง

- ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ (Title of Invention) ควรพิมพ์ตัวใหญ่ทั้งหมด
- ชื่อและที่อยู่ การระบุชื่อ ไม่ต้องระบุคำนำหน้า (เช่น Mr., Ms., Mrs.) ทั้งนี้ให้ระบุนามสกุลก่อนโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ตามด้วยชื่อที่ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวถัดไปใช้ตัวพิมพ์เล็ก และให้ระบุที่อยู่ที่สามารถส่งไปรษณีย์ไปถึงได้ รวมทั้งรหัสไปรษณีย์ และชื่อประเทศด้วย

 

รายละเอียดการประดิษฐ์

- หัวข้อของส่วนต่างๆ ของรายละเอียดการประดิษฐ์ ควรเป็นดังนี้: 
        - ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ (Title of Invention) 
        - สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ (Technical Field)
        - ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (Background Art)  
        - การเปิดเผยการประดิษฐ์ (Disclosure of Invention) หรือ สรุปการประดิษฐ์ (Summary of Invention) 
        - คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ (Brief Description of drawing) 
        - วิธีการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด (Best Mode for Carrying out the Invention) หรือ คำอธิบายวิธีการประดิษฐ์ (Description of Embodiments) 
        - การประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม (Industrial Applicability)    
        - รายการแสดงลำดับ (Sequence Listing) - ข้อความอิสระของรายการแสดงลำดับ (Sequence Listing Free Text)

 

ข้อถือสิทธิ 
        - จะต้องเรียงลำดับและใส่ตัวเลขหน้าข้อ 
        - ข้อถือสิทธิต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครองโดยชัดแจ้งและรัดกุม      และต้องสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์

 

บทสรุปการประดิษฐ์ 
        - สรุปสาระสำคัญของการประดิษฐ์ที่ได้เปิดเผยหรือแสดงไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ และรูปเขียน 
        - รัดกุม ชัดแจ้ง และเมื่อเขียน หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษควรมีถ้อยคำประมาณ 50 ถึง 150  คำ 
        - กรณีที่มีรูปเขียนประกอบคำขอระหว่างประเทศ จะต้องระบุเครื่องหมาย หรือหมายเลขอ้างอิงต่อท้าย ลักษณะทางเทคนิคที่กล่าวถึง โดยให้ใส่ไว้ในวงเล็บ

 

รูปเขียน 
        - ไม่มีคำบรรยายหรือข้อความใดๆ เว้นแต่ชื่อรูปเขียน 
        - เขียนหรือพิมพ์ด้วยหมึกที่สามารถอยู่ได้ทนนาน มีสีดำเข้ม เป็นเส้นเรียบและหนาเท่ากันโดยตลอด  และห้ามระบายสีอื่น 
        - เขียนหมายเลข  ตัวอักษร  และเส้นอ้างอิงให้ชัดเจนและเข้าใจได้โดยง่าย และไม่ใช้วงเล็บ วงกลม อัญประกาศ ประกอบหมายเลขและตัวอักษร 
        - ใช้อุปกรณ์การเขียนแบบ 
        - มีสัดส่วนที่ถูกต้อง เว้นแต่ในส่วนที่ต้องการแสดงรายละเอียดให้ชัดเจนเป็นพิเศษจะใช้สัดส่วนที่แตกต่างไปก็ได้ 
        - ไม่ใช้เครื่องหมายอ้างอิงอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์

 

การกำหนดแบบอักษรที่ใช้ในการจัดทำคำขอ

          แบบอักษรภาษาอังกฤษให้ใช้ฟอนต์ Times New Roman ขนาด 12  แบบอักษรภาษาไทยให้ใช้ฟอนต์ Cordia UPC ขนาด 16 ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง กำหนดแบบหนังสือมอบอำนาจ แบบพิมพ์คำขอระหว่างประเทศและคำขอถอนคำขอระหว่างประเทศ (ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552)

ผู้ขอสามารถดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ (เพื่อดูแนวปฏิบัติ) ได้ตามลิงค์ข้างล่างนี้ 

ตัวอย่างการกรอกแบบพิมพ์คำขอ

• แบบพิมพ์คำขอ http://www.wipo.int/export/sites/www/pct/en/forms/request/ed_request.pdf
• คู่มือผู้ยื่นคำขอ http://www.wipo.int/pct/guide/en/index.html 
• ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญาฉบับต่างๆ

1368สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา 

รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

DIP Logoกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
เลขที่ 563 ถนนนนทบุรี  ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 อีเมล์ : saraban@ipthailand.go.th สายด่วน 1368 

chat-1

 


 facebook  instagram  youtube  twitter

จำนวนผู้ชม : 10030008

ipv6 ready W3C WIA AAA WCAG20

กรมทรัพย์สินทางปัญญา