PATENT

สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (PCT)

17692
20.09.59

คำจำกัดความ

สิทธิบัตร  หมายความว่า  หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์

เจ้าหน้าที่  หมายความว่า  เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

อนุญาต  หมายความว่า  การที่เจ้าหน้าที่ยินยอมให้บุคคลใดกระทำกาใดที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมก่อนกระทำการนั้นและให้หมายความรวมถึงการออกใบอนุญาต
การอนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้งการให้ประทานบัตรและการให้อาชญาบัตรด้วย

ผู้อนุญาต  หมายความว่า  ผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจในการอนุญาต

พนักงานเจ้าหน้าที่  หมายความว่า  ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ

คำขอ  หมายความถึง  บรรดาคำขอดังนี้

* คำขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทย [แบบสป/อสป/001-ก (PCT)]

* คำขอแก๋ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตร/นุสิทธิบัตร [แบบสป/สผ/อสป/003-ก]

* คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิ [แบบสป/อสป/004-ก]

* คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ [แบบสป/อสป/005-ก]

* คำขอตรวจค้นคำขอรับสิทธิษัตร/นุสิทธิบัตรและคัดสำเนาเอกสาร [แบบสป/ สผ/อสป/006-ก]

* คำคัดค้านการขอรับสิทธิบัตร [แบบสป/สผ/007-ค]

* คำขอนำพยานหลักฐานมาแสดงหรือแถลงเพิ่มเติม [แบบสป/สผ/007-ก(พ)]

* คำโต้แย้ง [แบบสป/สผ/008-ก]

* คำอุทธรณ์ [แบบสป/สผ/อสป/009-ก]

* คำขออื่นๆ [แบบสป/สผ/อสป/011-ก]

ผู้รับบริการหรือยื่นคำขอ  หมายถึง ประชาชนผู้รับบริการโดยตรง หรือหน่วยงานภาคเอกชน หรือภาครัฐที่มารับบริการจากหน่วยงานของรัฐ

 

หลักเกณฑ์ในการพิจารณา

1. การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

1.1 เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่

1.2 เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นและ

1.3 เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม

1.4 การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ นี้

(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติสัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์ หรือพืช

(2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์

(5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีอนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน

2. คำขอรับสิทธิ บัตรผู้ยื่นคำขอต้องมีรายละเอียดประกอบคำขอดังนี้

2.1 แบบพิมพ์คำขอ[แบบสป/อสป/001-ก (PCT)]

2.2 รายละเอียดการประดิษฐ์ ต้องบรรยายรายละเอียด ที่มีข้อความสมบูรณ์ รัดกุม และชัดแจ้งนจะทำให้ผู้มีความชำนาญในระดับสามัญในศิลปะ หรือวิทยาการที่เกี่ยวข้องสามารถทำและปฏิบัติตามการประดิษฐ์นั้นได้ ดังนี้

(1) ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์

(2) ระบุสาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์

(3) ภูมิหลังของศิลปะ หรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้เข้าใจการประดิษฐ์นั้นดีขึ้นและเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ระบุเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย (ถ้ามี)

(4) อธิบายลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์

(5) เปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์

(6) อธิบายรูปเขียนแต่ละรูปโดยย่อ (ถ้ามี)

(7) วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด

2.3 ข้อถือสิทธิ ต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรประสงค์จะขอความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ รัดกุม และชัดแจ้ง รวมทั้งต้องสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์

2.4 รูปเขียน (ถ้ามี) ต้องชัดแจ้ง สอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์และเป็นไปตามหลักวิชาการเขียนแบบ และให้หมายความรวมถึงแผนภูมิและแผนผังด้วย

2.5 บทสรุปการประดิษฐ์ ต้องสรุปสาระสำคัญของการประดิษฐ์ได้เปิดเผย หรือแสดงไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ และรูปเขียน (ถ้ามี) โดยต้องระบุลักษณะทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับกรประดิษฐ์โดยย่อ แต่ต้องเป็นไปในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงปัญหาทางเทคนิค ตลอดจนการแก้ปัญหาโดยการประดิษฐ์และการใช้การประดิษฐ์นั้น

2.6 รายการอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 21

2.7 เอกสารประกอบคำขอ ตามที่ระบุในข้อ 8 ของ [แบบสป/อสป/001-ก (PCT)]

 

เงื่อนไขในการยื่นคำขอ

1. ในการขอรับสิทธิบัตรให้ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนด

1.1 คำขอรับสิทธิ บัตรต้องมีรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิและบทสรุปการประดิษฐ์ยื่นไปพร้อมกับคำขอและในกรณีที่จำเป็น เพื่อให้สามารถเข้าใจการประดิษฐ์ได้ดีขึ้น ให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรจัดให้มีรูปเขียนประกอบคำขอรับสิทธิบัตรยื่นไปพร้อมกับคำขอด้วย

1.2 ในกรณีที่การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับจุลชีพใหม่ รายละเอียดการประดิษฐ์ให้หมายถึงหนังสือรับรองการฝากเก็บจุลชีพและ/หรือเอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ หรือคุณสมบัติของจุลชีพนั้นซึ่งออกให้โดยสถาบันรับฝากเก็บจุลชีพที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะประกาศรายชื่อเป็นคราวๆ ไป

2. การมอบอำนาจ

2.1 กรณีที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้มอบอำนาจให้ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทนในราชอาณาจักโดยยื่นหนังสือมอบอำนาจต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่การมอบอำนาจนั้นได้กระทำในต่างประเทศหนังสื่อมอบอำนาจนั้นต้องมีคำรับรองลายมือชื่อโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทวงพาณิชย์ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้นให้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ หรือ

(2) ในกรณีที่หนังสือมอบอำนาจนั่นได้กระทำในประเทศไทยต้องส่งภาพถ่ายหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ชั่วคราว หรือหลักฐานอื่นที่แสดงให้อธิบดีเห็นว่าในขณะมอบอำนาจผู้นั้นได้เข้ามาในประเทศไทยจริง

2.2 ในกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประสงค์จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน จะมอบอำนาจให้แกตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทเบียนไว้กับอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทนได้เท่านั้น

2.3 หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังนี้

(1) กรณีมอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ให้ปิดอากร 10 บาท

(2) กรณีมอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ให้ปิดอากร 30 บาท

(3) กรณีมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคน ให้ปิดอากรคิดตามรายบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท

 

การดำเนินการตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่

1. ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอแล้ว ถ้าปรากฏมีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้ เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอ หรือตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก่ไขให้ถูกต้องทั้งนี้ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไขภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งหากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ ตามมาตรา 27 เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาอาจขยายกำหนดเวลาดังกล่าวให้ตามเห็นสมควร

2. การยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอเรียบร้อยแล้ว ผู้ยื่นคำขอต้องมาดำเนินการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมนียมที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ คำขอที่แก้ไขเพิ่มเติมจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการตรวจสอบเบื้องต้นตามลำดับเสมือนการยื่นคำขอใหม่

3. ในกรณียื่นคำขอทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา นักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ จะดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล และรายละเอียดในคำขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิ บัตร คำร้อง หรือคำขออื่นๆ จากข้อมูลและรายละเอียดที่ปรากฏในระบบ e-Filing เป็นสำคัญ ซึ่งการตรวจสอบคำขอที่ยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะดำเนินการตามประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรคำร้อง หรือคำขออื่นๆ ผ่านทางระบบจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2561

 

หมายเหตุ

1. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือสำหรับประชาชนจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารว่ามีความถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือบริการประชาชนเรียบร้อยแล้ว

2. กรณีที่คำขอ หรือเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วนเจ้าหน้าที่จะจัดทำบันทึกความบกพร่องของรายการเอกสาร หรือเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นเพิ่มเติม (บันทึกข้อตกลงการรับคำขอ โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไขและ/หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติม ภายในกำหนดระยะเวลา 90 วัน นับถัดจากวันยื่นคำขอและในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอละทิ้งคำขอ โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการคืนคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอพร้อมทั้งแจ้งเหตุแห่งการคืนคำขอและสิทธิในการอุทธรณ์ให้ทราบด้วย

3. เมื่อผู้ยื่นคำขอได้ชำระเงินค่าธรมนียมใดๆ ให้แก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้วจะขอคืนค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ เว้นแต่

(1) มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้คืนค่าธรรมเนียมหรือ

(2) ชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน หรือชำระเกินซึ่งการชำระดังกล่าวเกิดเนื่องจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐโดยมิใช่ความผิดของผู้ชำระซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะได้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

4. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอต้องนำเอกสาร หรือหลักฐานหลายรายการมายื่นเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ผู้ยื่นคำขอนำเอกสาร หรือหลักฐานมายื่นพร้อมกันทั้งหมดในคราวเดียวกัน

5. ในกรณีที่จะต้องส่งสำเนาเอกสารหลักฐานให้ผู้ยื่นคำขอรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารหลักฐานนั้นด้วย

6. ในกรณีที่จะต้องส่งเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นคำขอส่งเอกสารนั้นพร้อมด้วยคำแปลเป็นภาษาไทย โดยมีคำรับรองของผู้แปลว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้อง

7. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอ หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอด้วยตนเอง โดยมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้ยื่นคำขอแทนควรมีหนังสือมอบอำนาจช่วง หรือหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการให้บุคคลนั้นมีอำนาจยื่นคำขอและลงนามในบันทึกข้อตกลงการรับคำขอแทนผู้ยื่นคำขอ หรือตัวแทนได้เพราะหากคำขอไม่ถูกต้อง หรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนและบุคคลผู้ยื่นคำขอไม่มีอำนาจลงนามในบันทึกดังกล่าวเจ้าหน้าที่ไม่อาจรับคำขอของท่านไว้ได้

8. ทั้งนี้ ไม่นับระยะเวลาที่ผู้ขอต้องดำเนินการตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือระยะเวลาที่ผู้ขอแก้ไขคำขอ หรือการขอให้ระงับการดำเนินการทางทะเบียนไว้ชั่วคราว หรือระยะเวลาที่ผู้ขอต้องยื่นรายงานผลการตรวจสอบจากต่างประเทศ และไม่นับระยะเวลาที่ผู้ขอต้องยื่นคำขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการประดิษฐ์ภายใน 5 ปีนับแต่วันประกาศโฆษณา

9. การคัดค้าน/โต้แย้ง

กรณีที่มีผู้ยื่นคำคัดคานเพราะเห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตร หรือเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้ ระยะเวลาดำเนินการจะเพิ่มอีก 420 วัน

10. ผู้ขอรับสิทธิบัตรมีสิทธิขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิที่จะขอรับสิทธิบัตรเป็นอนุสิทธิบัตรได้ ก่อนการจดทะเบียนการประดิษฐ์ หรือก่อนการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 28 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ผู้ขอมีสิทธิให้ถือเอาวันยื่นคำขอเดิมหรือวันที่เปลี่ยนแปลงสิทธิเป็นวันยื่นคำขอ

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. กฎกระทรวงฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2542)
  2. กฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2542)
  3. กฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2542)
  4. กฎกระทรวงฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2542)
  5. กฎกระทรวงฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2542)
  6. กฎกระทรวงฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2542)
  7. กฎกระทรวงฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2542)
  8. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
  9. กฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร พ.ศ.2552(ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2542)

1368สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา 

รองรับการทำงานบน Microsoft Edge , Firefox , Safari , Chrome , Opera และรองรับการแสดงผลบน Mobile Devices

DIP Logoกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
เลขที่ 563 ถนนนนทบุรี  ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 อีเมล์ : saraban@ipthailand.go.th สายด่วน 1368 

 facebook  instagram  youtube  twitter

สถิติผู้เข้าชมวันนี้ : 1791

สถิติผู้เข้าชมรวม : 10978298

ipv6 ready W3C WIA AAA WCAG20Html5 LogoAcheckerW3c Css
 
 
 
 

กรมทรัพย์สินทางปัญญา